เมนู

มานะ เพราะอรรถว่า ย่อมถือตัว. มานะนั้นมีการทรนงตนเป็นลักษณะ
(อุนฺนติลกฺขโณ) มีการยุกย่องสัมปยุตธรรมเป็นรส (สมฺปคฺคหนรโส)
มีความปรารถนาดุจธงเป็นปัจจุปัฏฐาน (เกตุกมฺยตาปจฺจุปฏฺฐาโน) มีโลภะ
ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิเป็นปทัฏฐาน (ทิฏฐิวิปฺปยุตตฺตโลภปทฏฺฐาโน) พึง
ทราบว่า เหมือนคนบ้า.
อกุศลจิตดวงที่ 3 จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ 4


อกุศลจิตดวงที่ 4 ย่อมเกิดขึ้นในฐานะมีประการดังกล่าวนั่นแหละคือ
ในฐานะทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ในกาลใด พวกชนย่อมถ่มเขฬะไปหรือโปรย
ฝุ่นเท้าไปบนศีรษะ ในกาลนั้น อกุศลจิตดวงที่ 4 ย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลาย
ผู้แลดูในระหว่างๆ โดยเป็นไปกับด้วยอุตสาหะเพื่อหลบหลีกเขฬะและฝุ่นเท้านั้น
และย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลายผู้แลดูตามช่องนั้น ๆ เมื่อความวุ่นวายเป็นไปใน
เมื่อตัวละครหลวงกำลังออกมา ดังนี้. ในอกุศลจิตดวงที่ 4 นี้ มีเยวาปนก-
ธรรม 7 กับมานะถีนมิทธะ แม้อรรถแห่งอกุศลจิตทั้งสอง คืออกุศลจิตดวงที่ 3
และที่ 4 ย่อมลดมิจฉาทิฏฐิ พึงทราบการนับธรรมด้วยสามารถธรรมที่เหลือ
เว้นทิฏฐินั่นแล.
อกุศลจิตดวงที่ 4 จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ 5


อกุศลจิตดวงที่ 5 ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้มัชฌัตตะ (วางเฉย) ด้วย
สามารถแห่งเวทนาในอารมณ์ทั้ง 6 ผู้ยังโลภะให้เกิด ผู้ยึดถืออยู่โดยนัยมีอาทิว่า
นี้เป็นสัตว์ นี้เป็นสัตว์. ก็ในอกุศลจิตดวงที่ 5 นี้ อุเบกขาเวทนาย่อมมีในที่

โสมนัส (แทนโสมนัสเวทนา) ย่อมลดบทปีติ. คำที่เหลือทั้งหมดเป็นเหมือน
อกุศลจิตดวงที่หนึ่งแล.
อกุศลจิตดวงที่ 5 จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ 6, 7, 8


แม้อกุศลจิตดวงที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ใน
อกุศลจิตดวงที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 นั่นแหละโดยเปลี่ยนเวทนาและลดบทปีติ. อธิปติ
แม้ทั้ง 2 คือ สหชาตาธิปติและอารัมมณาธิปติ ย่อมได้ในจิตสหรคตด้วยโลภะ
8 ดวง เหล่านี้.
โลภมูลจิต 8 ดวงจบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ 9


อกุศลจิตดวงที่ 9 ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ประกอบด้วยโทมนัสใน
อารมณ์ทั้ง 6 ผู้ยังปฏิฆะให้เกิดขึ้นนั่นแหละ. จะวินิจฉัยในวาระว่าด้วยการ
กำหนดสมัย 3 สมัย แห่งอกุศลจิตดวงที่ 9 ก่อน.
มนะอันโทษประทุษร้ายแล้ว หรือมนะอันบัณฑิตเกลียด เพราะมี
เวทนาอันเลว เพราะเหตุนั้น มนะนั้น จึงชื่อว่า ทุมมโน (ผู้มีใจชั่ว). ภาวะ
แห่งบุคคลผู้มีใจชั่ว ชื่อว่า โทมนัส. อกุศลจิตสหรคตด้วยโทมนัสนั่น เพราะ
ฉะนั้น อกุศลจิตนั้น จึงชื่อว่า โทมนัสสสหคตะ (สหรคตด้วยโทมนัส).
สภาวะที่ชื่อว่า ปฏิฆะ เพราะอรรถว่า ย่อมกระทบในอารมณ์โดย
ภาวะที่ไม่พอใจ. อกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยปฏิฆะนั้น ชื่อว่า ปฏิฆสัมปยุต.